Page 9 - ALL-In-book-01
P. 9
โปรดอ่านก่อนปรุง
เพราะเหตุใด เมนูนี้จึงถูกใจเด็กใกล้ฟ้า?
ช่วงปลายปี 2558 มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา ได้รับการสนับสนุนจากส�านักงานกองทุนสนับสนุน
การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ด�าเนินการส�ารวจสถานการณ์ด้านการบริโภคและกิจกรรมทางกายในเด็ก
ระดับชั้นประถมศึกษา ภายใต้โครงการส�ารวจสถานการณ์พฤติกรรมการบริโภคของเด็กและชุมชนคนต้นน�้า:
พื้นที่จังหวัดเชียงราย จากรายงานสรุปสถานการณ์ดังกล่าวมีข้อสรุป ข้อสังเกต และข้อค้นพบหลายประการที่
น่าสนใจ นอกจากนั้นในช่วงการจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับโรงเรียนและชุมชน ก็ยังมีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อ
การด�าเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาวะเด็กโดยเฉพาะในชุมชนชาติพันธุ์เป็นอย่างดี ต่อมาราวกลางปี 2559
มูลนิธิฯ จึงได้เริ่มต้นด�าเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและชุมชนคนต้นน�้า: พื้นที่จังหวัดเชียงราย โดย
ใช้ข้อมูลส่วนหนึ่งจากการส�ารวจสถานการณ์สุขภาวะเด็กดังกล่าวข้างต้น เป็นพื้นฐานในการด�าเนินงาน
1
ในการส�ารวจสถานการณ์พฤติกรรมการบริโภคของเด็กและชุมชนคนต้นน�้าฯ ครั้งนั้น หนึ่งในหัวข้อ
การส�ารวจ คือ อาหารชาติพันธุ์ที่เด็กๆ แต่ละชาติพันธุ์ชอบรับประทานมากที่สุด โดยกลุ่มเป้าหมายที่ท�าการ
ส�ารวจเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาช่วงชั้นที่ 2 (ป.4- ป.6) จ�านวน 1,000 คน จาก 9 ชาติพันธุ์ ในจังหวัด
เชียงราย ผลส�ารวจพบว่าเด็กๆ มากกว่า 55% ระบุว่าพวกเขาชอบกินอาหารชาติพันธุ์ และได้เขียนชื่ออาหารที่
ชอบที่สุดในวัฒนธรรมการกินของพวกเขา ท�าให้เราได้รายชื่ออาหารชาติพันธุ์มากมาย สุดท้ายน�ามาสรุปโดย
เลือกชื่ออาหารที่เด็กๆ ชอบ 5 อันดับสูงสุดในแต่ละชาติพันธุ์ ดังนั้นการด�าเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ
เด็กและชุมชนคนต้นน�้าฯ ในปี 2559 จึงมีภารกิจหนึ่งของโครงการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและชุมชนคนต้นน�้า:
พื้นที่จังหวัดเชียงราย คือ การส่งเสริมให้โรงเรียนน�าเมนูอาหารชาติพันธุ์เข้ามาเสริมเป็นเมนูอาหารกลางวันให้
เด็กๆ รับประทาน ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น
1. วัตถุดิบในการประกอบอาหาร ส่วนใหญ่เป็นพืชผักพื้นบ้านตามฤดูกาลในท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็น
วัตถุดิบที่ปลอดสารพิษ ท�าให้เด็กได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยมากกว่าการซื้อวัตถุดิบจากภายนอกที่ไม่รู้
แหล่งผลิต
2. การให้เด็กได้รับประทาน และเรียนรู้คุณค่าอาหารชาติพันธุ์ของตนเอง เป็นการท�าให้เกิดความภาค
ภูมิใจในอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตน ส่งผลให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของตน (Self-esteem)
3. อาหารชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ มีวิธีการประกอบอาหารที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน สามารถน�าไปจัด
กระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็กในโรงเรียนได้
แต่เมื่อโครงการฯ เริ่มด�าเนินงานไปได้ระยะหนึ่ง เราพบว่าการผลักดันให้อาหารชาติพันธุ์ อยู่ในเมนู
อาหารกลางวันในโรงเรียนของเด็กๆ ยังมีอุปสรรคอยู่ เหตุผลส�าคัญคือ ครูอาหารกลางวัน หรือแม่ครัวที่ปรุง
อาหารในโรงเรียน ส่วนใหญ่ไม่ใช่คนในชุมชน รวมทั้งไมได้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน ท�าให้ไม่มีไอเดียในการปรุง
1 รายละเอียดผลการส�ารวจรายงานสถานการณ์ดังกล่าว ท่านสามารถศึกษาได้จากเอกสารรายงานสรุปสถานการณ์การบริโภคและกิจกรรมทางกาย
ของเด็กชาติพันธุ์ จ.เชียงราย ติดต่อขอรับเอกสารได้ที่มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา โทร 053 758 658
–5–