Page 10 - ALL-In-book-01
P. 10
อาหารชาติพันธุ์เป็นอาหารกลางวันอย่างต่อเนื่อง หนังสือ “เมนูถูกใจเด็กใกล้ฟ้า” เล่มนี้ จึงจัดท�าขึ้น โดยมี
วัตถุประสงค์หลักเพื่อมอบให้โรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่การด�าเนินงานของโครงการ เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ
และไอเดียในการท�าอาหารชาติพันธฺุ์เป็นอาหารกลางวันให้เด็กได้รับประทาน รวมทั้งเผยแพร่ให้กับโรงเรียนที่อยู่
นอกพื้นที่ท�างานของโครงการ ที่มีกลุ่มเด็กชาติพันธุ์ศึกษาอยู่ ตลอดจนผู้ที่สนใจทั่วไปได้ศึกษาไและประยุกต์ใช้กับ
การท�างานของตนเอง
เมนูถูกใจเด็กใกล้ฟ้า จะเป็นเมนูโรงเรียนได้ไหม?
เราต่างทราบกันดีว่าส�าหรับเด็กวัยเรียนแล้ว อาหารมีความส�าคัญต่อพวกเขามาก เพราะเป็นวัยที่ร่างกาย
ก�าลังเจริญเติบโต สมองก�าลังพัฒนา การกินอาหารให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ หลากหลาย เหมาะสม และ
ปริมาณเพียงพอต่อความต้องการสารอาหารของร่างกาย จึงเป็นสิ่งที่ครูผู้รับผิดชอบเรื่องอาหารกลางวันของเด็กๆ
ในโรงเรียนต่างมีความตระหนักเสมอ ดังนั้นเมื่อโครงการฯ พยายามผลักดันการน�าอาหารชาติพันธุ์เข้าไปเสริมหรือ
แทนที่เมนูปกติของโรงเรียนในบางมื้อ ท�าให้ครูหลายท่านมีความกังวลใจหลายประการ เช่น อาหารที่น�ามาแทนที่
เมนูเดิม (แม้จะแค่บางมื้อ) จะท�าให้เด็กๆ ได้รับคุณค่าอาหารเพียงพอตามหลักโภชนาการหรือไม่ การปรุงอาหารจะ
มีความเหมาะสมกับเด็กในวัยนี้หรือไม่ (รสจัด หวาน มัน เค็มเกินไป) รวมทั้งเด็กจะชอบกินหรือไม่ เป็นต้น
หนังสือ “เมนูถูกใจเด็กใกล้ฟ้า” เล่มนี้ นอกจากจะท�าให้คุณครูเกิดแรงบันดาลใจและไอเดียในเรื่องอาหาร
ชาติพันธุ์แล้ว ยังพยายามจะช่วยหาทางออกให้ครูคลี่คลายความกังวลใจที่มีอยู่ เช่น
- แน่นอนว่าอาหารทั้ง 30 ชนิดในเล่มนี้ น�ามาจากรายชื่ออาหารที่เด็กชาติพันธุ์ชอบกินมากที่สุด ดังนั้นเมื่อ
ปรุงอาหารเหล่านี้แล้วส่วนใหญ่เด็กจึงน่าจะชอบกิน
- อาหารชาติพันธุ์เกือบทุกเมนูจะไม่ใส่น�้าตาล ส่วนใหญ่ไม่ใช้น�้ามันในการปรุง (มีแค่ไม่กี่เมนูที่ใช้น�้ามัน) อีก
ทั้ง 30 เมนูที่น�าเสนอในเล่มนี้ เป็นเมนูปลอดผงชูรส และในกระบวนการท�างานได้ทดลองชิมแล้วทุกเมนู พบว่า
รสชาติอร่อยมาก
- ในส่วนคุณค่าโภชนาการของอาหารที่ครูส่วนใหญ่ยังกังวลใจอยู่นั้น หนังสือเล่มนี้จึงได้พยายามที่จะช่วย
แบ่งเบาภาระให้กับครูระดับหนึ่ง กล่าวคือ น�าสูตรการประกอบอาหารทั้ง 30 เมนูไปค�านวณคุณค่าอาหาร พลังงาน
โปรตีน คาร์ไฮเดรต และไขมัน มาน�าเสนอไว้ในบทท้ายสุดของเล่มนี้ เพื่อให้คุณครูสามารถพิจารณาเปรียบเทียบกับ
เมนูปกติของโรงเรียน หรือเมนูแนะน�าจาก Thai School Lunch เมื่อน�าอาหารชาติพันธฺุ์มาแทนเมนูเดิมบางมื้อได้
ง่าย และสบายใจมากขึ้น
เพื่อให้ครูผู้รับผิดชอบอาหารกลางวัน มีความมั่นใจมากขึ้นในการประยุกต์เมนูอาหารชาติพันธุ์แทนที่เมนู
ปกติในบางมื้อ ขอแนะน�าให้ครูศึกษา “หลักการน�ามาตรฐานอาหารกลางวันสู่การวางแผนเมนูอาหารหมุนเวียน”
ของ ผศ.ดร.อุไรพร จิตต์แจ้ง สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นเอกสารส�าหรับดาวน์โหลด ในเวบไซต์
Thai School Lunch (ระบบแนะน�าส�ารับอาหารกลางวันส�าหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ) http://www.sizethai-
land.org/lunch2/index.php ซึ่งครูผู้รับผิดชอบอาหารกลางวันทุกท่านเป็นสมาชิกอยู่แล้ว เอกสารดังกล่าวจะช่วย
ให้ครูมีแนวทางในการก�าหนดรายการอาหารที่เป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ หรือเป็นความนิยมของท้องถิ่น ให้เข้ามา
อยู่ในรายการอาหารประจ�าสัปดาห์ หรือประจ�าเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐาน
–6–