About Us

ช่วง พ.ศ.2511-2517 เป็นช่วงที่กิจกรรมของนักเรียน นิสิต นักศึกษา บานสะพรั่ง ทั้งกิจกรรมเสริมวิชาการ จิตสำนึกทางการเมือง สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม มีชมรมในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยให้เลือกเข้าร่วมได้อย่างหลากหลาย นักคิด นักบริหารชั้นนำ เช่น ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ อาจารย์สุลักษณ์ ศิวลักษ์ พระภิกษุ เช่น ท่านพุทธทาส ท่านปัญญานันทภิกขุ สร้างกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมสติปัญญาให้แก่คนหนุ่มคนสาว ขณะเดียวกันความฟุ้งเฟ้อของนักศึกษาในรูปงานบอลล์ การประกวดความงามก็มีมากมาย มีคำถาม “ฉันจึงมาหาความหมาย” โดยวิทยากร เชียงกูล มีบทกวีตั้งคำถามหาความหมายในชีวิตต่อสังคม ความตายของครูโกมล คีมทอง รัตนา สกุลไทย บัณฑิตหนุ่มสาวที่ออกไปเป็นครูในชนบทภาคใต้ ก่อให้เกิดกระแสการขานรับในหมู่คนหนุ่มสาวยุคใหม่ผ่านมูลนิธิ โกมล คีมทอง มีความพยายามหาทางออกจากลัทธิคอมมิวนิสต์ สังคมนิยม หรืออนุรักษ์สุดขอบ สู่เส้นทางประชาธิปไตยและสันติประชาธรรม จนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ขึ้น

เรื่องราวจากชุมชนและภูเขา

ผู้เฒ่าไทลื้อสุดปลื้มได้บัตรประชาชนไทย เผยดีใจยิ่งกว่าถูกรางวัลที่ 1

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย จ.เชียงราย นายณรงค์พล คิดอ่าน นายอำเภอแม่สาย เป็นประธานในพิธีมอบบัตรประจำตัวประชาชน “ผู้เฒ่าไร้สัญชาติ” ซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทยของคนต่างด้าวที่เป็นชนกลุ่มน้อย ทำให้บุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลสัญชาติไทยตามมาตรา 5 ของพรบ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 จำนวน 10 ราย ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายไทลื้อ...

หนุนของเล่นพื้นถิ่น พชภ.กิจกรรมให้เด็กบนดอยแม่สลอง

เด็กๆ ทั้งหญิงชายต่างรุมล้อม “มอนอ” หรือ “โถกเถก” ผู้เฒ่าชายได้เอาตัดไม้ไผ่มาทำเป็นเครื่องเล่นที่วัยเด็กคนยุคก่อนหน้านี้ไม่ว่าเป็นพื้นราบหรือคนดอยต่างเคยเล่น เด็ก ๆ พยายามที่จะยืนและทรงตัวบนท่อนไม้ไผ่สองข้างนั้นให้ได้

ป่าปลูกผืนใหญ่ ลมหายใจของขุนเขา ดอยแม่สลอง

ฮาซัน อุมา เรื่อง/ภาพ ผมรู้สึกหายเหนื่อยและประทับใจเป็นอย่างมากเมื่อได้เห็นป่าไม้ผืนใหญ่นับพันไร่ยืนต้นเขียวชอุ่มอยู่บนดอยสูงแห่งนี้ไม่น่าเชื่อว่าป่าผืนนี้เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของชาวบ้านบนดอย ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่และอาข่า โดยการสนับสนุนของมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา หรือที่รู้จักกันในนาม “พชภ.” ได้ร่วมกันปลูกเมื่อ 28 ปีก่อน...

แม่เฒ่าอาข่าร่ำไห้ ไฟไหม้บ้านวอด-เงินเก็บเหี้ยน

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 เวลา 13:00 น ได้เกิดเหตุไฟไหม้บ้าน นายอาแย วุยซื่อกู่ นางบูเดาะ วุยซื่อกู่ ผู้เฒ่าไร้สัญชาติวัย 67 ปี ชาวอาข่า บ้านเลขที่185 บ้านป่าคาสุขใจ หมู่ที่5 ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย...

พชภ.ส่งเสริม “เด็ก กาย ดี” ต่อเนื่อง ระดมความเห็นเครือข่าย-อปท.เดินหน้ากิจกรรมทางกาย

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 นางจุฑามาศ ราชประสิทธิ์ ผู้จัดการโครงการเด็กกายดี เปิดเผยว่า มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) ได้เดินหน้าโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชน ชุมชนพื้นที่ต้นน้ำจังหวัดเชียงราย เพื่อสุขภาวะจังหวัดเชียงราย ภายใต้ชื่อโครงการ “เด็ก...

ปสม.เยือนพชภ. หารืองานแก้ปัญหาสถานะบุคคล ผู้เฒ่าไร้สัญชาติ (English summary below)

วันที่ 9 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์การเรียนรู้มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) บ้านป่าคาสุขใจ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย นักศึกษาจากสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรประกาศนียบัตรสิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปสม.) รุ่นที่ 3 จำนวนประมาณ 60 คน พร้อมทั้งนางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และกรรมผู้ก่อตั้งพชภ. นางสาวปิติกาญจน์ สิทธิเดช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายกิตติ อินทรกุล...

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ร่วมกับพชภ.ตรวจสารพันธุกรรมบุคคลแก่ราษฎรไร้สถานะ ณ ชุมชนมอแกน หมู่เกาะสุรินทร์

ระหว่างวันที่ 8-9 พฤษภาคม 2566 สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ว่าการอำเภอคุระบุรี  ดำเนินการตรวจสารพันธุกรรมบุคคล ณ ชุมชนมอแกน หมู่เกาะสุรินทร์ และที่ว่าการอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ตามโครงการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมแก่ราษฎรไร้สถานะและประสบปัญหาสถานะทางทะเบียนราษฎร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อนำผลการตรวจประกอบการพิจารณาแก้ไขปัญหาไร้สัญชาติ ในครั้งนี้ได้ดำเนินการตรวจสารพันธุกรรมให้กับผู้เฒ่า อายุ 101 ปี ซึ่งไม่สามารถเดินทางได้...

เผยอาชีพในฝันของเด็กดอย พชภ.บูรณาการกิจกรรมทางกาย ดึงอัตลักษณ์ 10 ชาติพันธุ์ส่งเสริมกายดี

เมื่อวันที่ 10 เมษายน ที่โรงแรม เอ็ม บูทิค อ.เมือง จ. เชียงราย มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) ได้จัดประชุมนำเสนอผลงานโครงการกิจการทางกายของคนชาติติพันธุ์ 10 กลุ่มจากอดีตสู่ปัจจุบันและวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต ภายใต้โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กเยาวชนชุมชนพื้นที่ต้นน้ำจังหวัดเชียงรายเพื่อสุขภาพภาวะ จังหวัดเชียงราย โดยมีชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ และเครือข่าย ประกอบด้วยครูจากโรงเรียนต่างๆ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย อสม. ผู้นำชุมชน จำนวนกว่า 100 คน เข้าร่วมประชุม และร่วมแสดงกิจกรรมทางกายตามอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ เช่น การฟ้อนเจิงของไทลื้อ การรำนกกิงกะหร่าของไทใหญ่การรำพัดของจีนยูนนนาน...

พชภ. จัดงานวันเด็กบนดอยสูง ย้ำ เด็กคือพลเมืองโลก ร่วมรักษาธรรมชาติ-สุขภาพ เคลื่อนไหวทางกาย

วันที่ 14 มกราคม 2566 มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) และภาคี รวมทั้งจิตอาสา ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมวันเด็กบนดอยสูง ณ ศูนย์การเรียนรู้พชภ. บ้านป่าคาสุขใจ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งเด็กและผู้ปกครอง กว่า 500 คน

ขอบคุณสื่อมวลชนที่ช่วยทำข่าวผู้เฒ่าไร้สัญชาติอย่างต่อเนื่อง จนนำมาสู่วันที่ปลื้มใจกันในวันนี้

ผู้เฒ่าอาข่าหัวใจพองโตได้บัตรประชาชนหลังอยู่ไทยมา 40-50 ปี เผยตายตาหลับแล้ว “ครูแดง”ชื่นชมความร่วมมือภาครัฐ-ภาคประชาชน ชี้ทำได้รวมเร็วครั้งแรกเพียง 2 ปีเหตุ มท.ยอมยกเว้นหลักเกณฑ์หลายข้อ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ที่ว่าการอำเภอแม่ฟ้าหลวง ผู้เฒ่าเชื้อสายอาข่าจากบ้านป่าคาสุขใจ ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย จำนวน 14 คน ได้เดินทางมาถ่ายบัตรประชาชน โดยเป็นการแปลงสัญชาติจากชนกลุ่มน้อยเป็นไทย ตามมาตรา 10...


บันทึกการเดินทาง


เด็กดอยกินดี

พชภ.ส่งเสริม “เด็ก กาย ดี” ต่อเนื่อง ระดมความเห็นเครือข่าย-อปท.เดินหน้ากิจกรรมทางกาย

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 นางจุฑามาศ ราชประสิทธิ์ ผู้จัดการโครงการเด็กกายดี เปิดเผยว่า มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) ได้เดินหน้าโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชน ชุมชนพื้นที่ต้นน้ำจังหวัดเชียงราย เพื่อสุขภาวะจังหวัดเชียงราย ภายใต้ชื่อโครงการ “เด็ก...

เผยอาชีพในฝันของเด็กดอย พชภ.บูรณาการกิจกรรมทางกาย ดึงอัตลักษณ์ 10 ชาติพันธุ์ส่งเสริมกายดี

เมื่อวันที่ 10 เมษายน ที่โรงแรม เอ็ม บูทิค อ.เมือง จ. เชียงราย มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) ได้จัดประชุมนำเสนอผลงานโครงการกิจการทางกายของคนชาติติพันธุ์ 10 กลุ่มจากอดีตสู่ปัจจุบันและวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต ภายใต้โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กเยาวชนชุมชนพื้นที่ต้นน้ำจังหวัดเชียงรายเพื่อสุขภาพภาวะ จังหวัดเชียงราย โดยมีชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ และเครือข่าย ประกอบด้วยครูจากโรงเรียนต่างๆ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย อสม. ผู้นำชุมชน จำนวนกว่า 100 คน เข้าร่วมประชุม และร่วมแสดงกิจกรรมทางกายตามอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ เช่น การฟ้อนเจิงของไทลื้อ การรำนกกิงกะหร่าของไทใหญ่การรำพัดของจีนยูนนนาน...

They’ve got the moves!

The Nation By Jintana Panyaarvudh Special to The Nation Mae Fah Luang, Chiang Rai How a low-key project at hilltribe schools in Northern...

เด็กดอยกินดี กายสุข ร่ายรำ ออกแรง ลดโรค

เด็กประถม 5-6 ชนเผ่าอาข่า ลาหู ลีซอ และจีนยูนนาน ในโรงเรียนบ้านพนาสวรรค์ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ดูตื่นเต้น เก้อ เขินมาก ระหว่างแสดงการเต้นรําดั้งเดิมของชนเผ่าให้คณะผู้มาเยือนจากกรุงเทพฯชม และรับรู้ว่า นี่คือหนึ่งในวิชาพลศึกษาและศิลปะซึ่งถูกบรรจุไว้ตามเป้าหมายลดภาวะ “เนื้อยนิ่ง” ควบคู่ไปกับการสืบสานอัตลักษณ์ชนเผ่า

เฝ้าระวังเด็กเปื้อนสารพิษ

รายการบ่ายโมงตรงประเด็น ประเด็นข่าว 29 ส.ค. 2562

เวียงแก่นตั้งเป้าภายใน ปี 63 อาหารกลางวันนักเรียนใช้ผักปลอดภัย 100%

Nation เชียงราย (23/08/2562) – หลังจากเข้าร่วม”โครงการเด็กดอยกินดี” มาถึงปีที่ 4 โรงเรียนปอวิทยา อ.เวียงแก่น จ. เชียงราย พบทางออกในการที่จะให้เด็กนักเรียนได้กินอาหารที่ผลิตจากผักปลอดภัย เตรียมชักชวนโรงเรียนอื่นทั้งอำเภอและเกษตรกรในชุมชนเข้าร่วมหารือกันเพื่อผลิตอาหารปลอดภัยตั้งเป้าภายในปี 2563 อาหารกลางวันนักเรียนเป็นอาหารปลอดภัย 100% 23 สิงหาคม 2562